นักวิจัย SOLGEN ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนเตรียมศึกษาประวัติศาสตร์กรุงชิง

โครงการศึกษาเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติพื้นที่กรุงชิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อหาแนวทางศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน พบว่าชุมชนมีศักยภาพในหลายด้าน  ขณะเดียวกันชาวบ้านได้สะท้อนปัญหาที่ประสบอยู่เช่นกัน เตรียมขยับเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป

ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2566 คณะวิจัยของโครงการศึกษาเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติพื้นที่กรุงชิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คณะวิจัยประกอบด้วย ผศ.ดร.วิทยา อาภรณ์ อาจารย์ปกรณ์สิทธิ์ ฐานา สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป  รศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม สำนักวิชาการจัดการ และดร.สัจจารีย์ ศิริชัย สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ พร้อมกับนักศึกษา ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้นที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม ได้สนทนากลุ่มกับชาวบ้านตำบลกรุงชิงที่ที่ทำการกลุ่มมัดย้อมพออวด บ้านพิตำ ตำบลกรุงชิงเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของตำบลกรุงชิง ศักยภาพและปัญหาที่พบในชุมชนทั้งในด้านการประกอบอาชีพ สภาพด้านสังคมวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การปรับเปลี่ยนด้านต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นต้น    หลังจากนั้น ชาวบ้านได้พาคณะวิจัยลงสำรวจพื้นที่ คือ เส้นทางท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง และถ้ำขุนคลัง

ต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 คณะวิจัยได้ร่วมล่องแก่งกรุงชิงซึ่งเป็นการจัดการท่องเที่ยวที่ให้บริการโดยชุมชน  โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมบันทึกข้อมูลการลงพื้นที่โดยตลอด

ทั้งนี้โครงการ “การศึกษาประวัติศาสตร์กรุงชิงเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน”เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทีมวิจัยประกอบด้วยคณาจารย์จากสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ และสำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักวิจัยชาวบ้าน

SOLGEN จัดโครงการรู้รักษ์ภาษาไทย

เนื่องด้วยวันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 (29 กรกฎาคม ของทุกปี) ที่ผ่านมา คณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป ได้จัดกิจกรรมโครงการ “SOLGEN รู้รักษ์ภาษาไทย” เพื่อร่วมรณรงค์ การใช้ภาษาไทยของคนรุ่นใหม่อย่างถูกต้อง และอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทย อีกทั้งเป็นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกล้ำค่าของไทยให้คงอยู่คู่คนไทย โดยกิจกรรมนี้เป็นการให้นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมส่งประกวดคำขวัญการรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง จากการรับสมัครส่งประกวดแคปชั่น, คำคม, คำขวัญ ภายใต้หัวข้อ “การรณรงค์การใช้ภาษาไทยของคนรุ่นใหม่ให้ถูกต้อง” พร้อมแนบภาพประกอบที่สื่อถึงข้อความพร้อมโพสต์ผลงานลงใน Facebook ส่วนตัวและตั้งค่าโพสต์เป็นสาธารณะ พร้อมติด #SOLGENรู้รักษ์ภาษาไทย และร่วมชิงเงินรางวัล จำนวน 3 รางวัล มูลค่ารวม 800 บาท พร้อมได้รับคะแนนความดี (ด้านกตัญญู) 3 คะแนน
ผลการจัดกิจกรรม “SOLGEN รู้รักษ์ภาษาไทย” ได้รับความสนใจอย่างมาก มีนักศึกษาจากหลากหลายสาขาและชั้นปี ได้ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 147 ผลงาน โดยผลการตัดสินรางวัล ดังนี้
ประกาศผลรางวัลกิจกรรม “SOLGEN รู้รักษ์ภาษาไทย”🎉
1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 500 บาท ได้แก่ นางสาว ณัฐกร ดาราผึ้ง รหัสนักศึกษา 63113849 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาไทย
📝ผลงาน “เยาวชนรุ่นใหม่ งดใช้คำวิบัติ
เอ่ยความให้ชัด ให้ถูกหลักการ”
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 200 บาท ได้แก่ นางสาวจิรัชญา สุนธนนท์ รหัสนักศึกษา 66125675 สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน สาขาบัญชี
📝ผลงาน “คำไทยมีหลากหลาย หากเขียนผิดความหมายเปลี่ยน
จึงควรหมั่นเรียนรู้ การใช้คำภาษาไทย”
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 100 บาท ได้แก่ นายภัทรพล สักลอ รหัสนักศึกษา 63107759 สำนักวิชาเภสัชศาสตร์
📝ผลงาน “คนรุ่นใหม่ รู้รักษ์ใช้ ภาษาไทย ให้ดูงาม ตามถูกต้อง”

SOLGEN รู้รักษ์ภาษาไทย

SOLGEN จัดกิจกรรม Online exchanging perspective: Sharing experience of Studying in the UK and Japan

เมื่อวันที่วันที่ 30 มิถุนายน 2566 สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป ได้จัดกิจกรรม Online exchanging perspective: Sharing experience of Studying in the UK and Japan ซึ่งเป็นกิจกรรมบรรยายพิเศษเรื่องประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร คือ อาจารย์สุไทย เกติมา อาจารย์สาขาวิชาพหุภาษา สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป เป็นผู้บรรยายประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดนผ่าช่องทางออนไลน์ระบบ zoom โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนประมาณ 20 คน ผลการประเมินผลความพึงพอใจจากผู้เข้าร่วม พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50

SOLGEN จัดแข่งขันกีฬากระชับมิตร

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน 2566 สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป (SOLGEN) ได้จัดการแข่งกีฬาแบดมินตัน และเกมพื้นบ้านสัมพันธ์ ระหว่างอาจารย์จากสาขาวิชาพหุภาษา และอาจารย์สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการทำความรู้จักและสร้างสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์ทั้งสองสาขาวิชา อีกทั้งยังได้ร่วมสนุกร่วมกันทั้งอาจารย์ชาวไทยและต่างชาติ ทำให้อาจารย์ชาวต่างชาติได้เรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านของไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้รวมกันทำความรู้จักคณาจารย์ต่างสาขาวิชาเพิ่มมากขึ้น และในเย็นวันนั้นก็ได้ร่วมกับรับประทานอาหารพร้อมกัน ณ WEDA CAFE อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ฝนทิพย์ มากเกลี้ยง
ที่ได้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ฝนทิพย์ มากเกลี้ยง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาทั่วไป ที่ได้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ในสาขาวิชาเคมีวิเคราะห์

อาจารย์ประเมินดีเยี่ยม 2565 (1)

SOLGEN เปิดตัวโครงการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนกรุงชิง

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. สำนักพหุภาษาและการศึกษาทั่วไปโดย ผศ.ดร.วิทยา อาภรณ์ ได้จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดต่อการดำเนิน “โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนกรุงชิงเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน”ที่ห้องประชุมองค์การบริการส่วนตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง ประธานกลุ่มผ้ามัดย้อมพออวด เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเขาจังโหลน สมาชิกกลุ่มส่งสริมการท่องเที่ยวเขาเหลี้ยม ผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้ เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว คณะวิจัยจากชุมชน และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมทั้งสิ้น 18 คน

การประชุมมีนายจริน จันทร์ชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิงได้กล่าวต้อนรับ จากนั้นได้มีการระดมความเห็น  ผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อเสนอแนะต่อต่อการดำเนินโครงการโดยรวม ข้อดี ข้อด้อย รูปแบบการดำเนินงานต่อไปของโครงการ  และการสร้างช่องทางการติดต่อประสานงานของการวิจัย

ทั้งนี้โครงการ “การศึกษาประวัติศาสตร์กรุงชิงเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน”เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทีมวิจัยประกอบด้วยคณาจารย์จากสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ และสำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักวิจัยชาวบ้าน ดำเนินการในช่วงเมษายน 2566-เมษายน 2567

สรุปผลงานวิจัยตีพิมพ์ ประจำเดือนเมษายน 2566

สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 1:1 ที่ตอบรับให้ตีพิมพ์และที่ได้รับการตีพิมพ์ ในเดือนเมษายน 2566 ประกอบด้วยจำนวน 4 บทความ ดังนี้

  1. บทความเรื่อง “Factors Influencing Teachers’ Intention to Use Technology: Role of TPACK and Facilitating Conditions” เขียนโดย Aj. Thinley Wangdi ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “International Journal of Instruction” บนฐานข้อมูล Scopus Index, Q1
  2. บทความเรื่อง “Implementing gamified vocabulary learning in asynchronous mode” เขียนโดย Asst. Prof. Dr. Budi Waluyo ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร “TEFLIN Journal” บนฐานข้อมูล Scopus Index, Q2
  3. บทความเรื่อง “An eco-friendly method using deep eutectic solvents immobilized in a microcrystal cellulose-polyvinyl alcohol sponge for parabens analysis in food samples” เขียนโดย Asst. Prof. Dr. Fonthip Makkliang ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “Microchemical Journal” บนฐานข้อมูล Scopus Index, Q1
  4. บทความเรื่อง “Paragraph vs essay: do they require the same self-regulated writing strategies” เขียนโดย Dr. Merliyani Putri Anggraini ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร “Microchemical Journal” onบนฐานข้อมูล Scopus Index, Q1

SOLGEN ร่วมแสดงความเคารพรดน้ำดำหัวท่านคณบดี
และร่วมงานวลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ณ อาคารวิชาการ 5 ตัวแทนคณะผู้บริหารและคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไปร่วมแสดงความเคารพรดน้ำดำหัว คณบดีสำนักวิชาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุข
 
ต่อจากนั้น ตัวแทนคณาจารย์ได้เข้าร่วมกิจกรรมวลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานประเพณี ประจำปี 2566 ณ อาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ จัดโดยศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการและชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย ภายในกิจกรรมได้มีการสรงน้ำพระพุทธรูป กิจกรรมรดน้ำขอพรผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล อีกทั้งยังมีบริการซุ้มอาหารจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งสำนักวิชาได้บริการขนมไทยให้แก่ผู้เข้าร่วมงานอีกด้วย

กิจกรรม ติว ต่อ เติม แต้ม รายวิชาศึกษาทั่วไป 3/2565

สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป ได้จัดกิจกรรมติว ต่อ เติม แต้ม ประจำภาคการศึกษาที่ 3/2565 ให้กับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไป ในรูปแบบออนไลน์ก่อนสอบกลางภาค ในช่วงวันที่ 14-21 กุมภาพันธ์ 2566 และก่อนสอบปลายภาค ในช่วงวันที่ 21 มีนาคม – 5 เมษายน 2566 ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “SOLGEN ติว ต่อ เติม แต้ม”  ทั้งหมด 7 รายวิชา ดังนี้
1.ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย
2.เทคนิคการสื่อสารในสังคมร่วมสมัย 
3.ความเป็นไทยและพลเมืองโลก
4.ปรัชญา จริยศาสตร์ และวิธีคิดแบบวิพากษ์
5.การแสวงหาความรู้และระเบียบวิธีวิจัย
6.การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อน
7.นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

มีนักศึกษาเข้าร่วมฟังร่วมการติว รวมทุกวิชามากกว่า 2,000 คน และ ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาในการเข้าติวอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (คะแนนประเมินมากว่า 4.55)

ดูภาพบรรยากาศได้ด้านล่างนี้

Tutoring Activities