SOLGEN เปิดตัวโครงการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนกรุงชิง

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. สำนักพหุภาษาและการศึกษาทั่วไปโดย ผศ.ดร.วิทยา อาภรณ์ ได้จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดต่อการดำเนิน “โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนกรุงชิงเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน”ที่ห้องประชุมองค์การบริการส่วนตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง ประธานกลุ่มผ้ามัดย้อมพออวด เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเขาจังโหลน สมาชิกกลุ่มส่งสริมการท่องเที่ยวเขาเหลี้ยม ผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้ เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว คณะวิจัยจากชุมชน และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมทั้งสิ้น 18 คน

การประชุมมีนายจริน จันทร์ชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิงได้กล่าวต้อนรับ จากนั้นได้มีการระดมความเห็น  ผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อเสนอแนะต่อต่อการดำเนินโครงการโดยรวม ข้อดี ข้อด้อย รูปแบบการดำเนินงานต่อไปของโครงการ  และการสร้างช่องทางการติดต่อประสานงานของการวิจัย

ทั้งนี้โครงการ “การศึกษาประวัติศาสตร์กรุงชิงเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน”เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทีมวิจัยประกอบด้วยคณาจารย์จากสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ และสำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักวิจัยชาวบ้าน ดำเนินการในช่วงเมษายน 2566-เมษายน 2567