“OTOP 2563” การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2563

          สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สาขาวิชาการศึกษาทั่วไป โดยคณะทำงานบริการวิชาการ ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสาตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับทุนสนับสนุนใน “OTOP 2563” การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2563 โดยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการนําเทคโนโลยี นวัตกรรม องค์ความรู้ และผลงานวิจัยที่มีอยู่ ในสถาบันอุดมศึกษามามีส่วนช่วยในการสร้างความเข้มแข็งในการดําเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ OTOP และทายาทผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการทําธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

          ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและสินค้า OTOP จำนวนมากที่ยังต้องการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าให้มีเอกลักษณ์ สร้างจุดเด่นให้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สามารถแข่งขันในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศอีกทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้ประกอบการต่อไป

          โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 10 รายเป็นผู้ประกอบการด้านอาหาร จำนวน 9 รายและ ผู้ประกอบการด้านสมุนไพรอีก 1 ราย โดยกระจายตามพื้นที่จังหวัดชุมพร 2 ราย จังหวัดนครศรีธรรมราช 8 ราย ครอบคลุมความรับผิดชอบในภาคใต้ตอนบน โดยมีกระบวนการดำเนินงานคือ การให้ความรู้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยครอบคลุมเนื้อหา การสร้างแบรนด์ให้จดจำและการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การลงพื้นที่สถานประกอบการ ณ จังหวัดนครฯ ชุมพร และระนองเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการเบื้อต้นและประเมินการคัดเลือกผู้ประกอบการเชิงลึก ดำเนินการออกแบบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ประเมินต้นแบบโดยมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อสรุปโครงการ โดยมีที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาบรรจุภัณฑ์และเครื่องหมายการค้า : อ.ทรงพันธ์ุ จันทร์ทอง และ อ.ศกุนิชญ์ จันทร์ทอง จากสาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป