กิจกรรม อบรมเชิงปฎิบัติการ ECO-BLOCK โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายเพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ปีที่ 2

วันที่ 29  เดือน สิงหาคม  ปี  2564  เวลา 9.00-16.00 น. 
        ปัจจุบันมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของภาคใต้ จากการประกาศการจัดอันดับของ Ul GreenMetric World University Ranking มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2020 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 จากการตระหนักถึงการพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการขยะและของเสีย การจัดการระบบการคมนาคมขนส่ง การศึกษาและการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน สถานที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐานหรือพื้นที่สีเขียว และการจัดการน้ำการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากความร่วมมือของพวกเราทุกคน
ในปีนี้คณะอนุกรรมการฯ ด้านการจัดการขยะและของเสีย ได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายเพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ปีที่ 2 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผศ.ดร.ลักษณ์นารา ขวัญชุม อาจารย์สำนักวิชาพหุภาษและศึกษาทั่วไป ได้จัดกิจกรรม “อบรมเชิงปฏิบัติการ ECO-BLOCK” ในรูปแบบ online และ onsite ซึ่งได้รับเกียรติจากท่าน ผศ.ดร.นุกูล สุขสุวรรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายอาคารและสถานที่ มากล่าวเปิดกิจกรรม ในการนี้ได้รับความร่วมมือจาก คุณประพันธ์ ซ้วนเล่ง เจ้าของนวัตกรรม Samui Eco Concrete และ คุณภณิพล อภิชิตสกุล ตัวแทนศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะและพลังงานสะอาด E2C Koh Samui มาให้ความรู้จากประสบการณ์การทำงานด้านการจัดการขยะในมุมมองของผู้ประกอบการภาคเอกชน และการรวมตัวกันของกลุ่มอาสาสมัครมูลนิธิต่างๆ เพื่อจัดการปัญหาขยะภาคครัวเรือน และการนำขยะมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งเสวนาร่วมกับ ผศ.วิศรุฬห์ วงบุญ ประธานอนุกรรมการโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว ด้านการจัดการขยะและของเสีย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในหัวข้อแนวทางและความเป็นไปในการนำขยะมาใช้ประโยชน์

        แนวคิดนวัตกรรม Eco-Concrete โดยคุณประพันธ์ ซ่วนเล้ง เจ้าของรีสอร์ทรักษ์โลกกับพลังงานแสงอาทิตย์ 100% Baan Boom Boxes Resort เนื่องจากสมุยเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวตั้งอยู่บนเกาะห้อบล้อมด้วยน้ำทะเลการจัดการขยะภายในเกาะก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอการจะส่งขยะเพื่อมาจัดการบนชายฝั่งก็อาจจะเสียมากกว่าได้การได้ประโยชน์ ทางคุณประพันธ์จึงริเริ่มแนวคิดการนำขยะภายในเกาะมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำขยะที่ยากต่อการย่อยสลาย เช่น ขยะพลาสติก ซองถุงขนม ถุงเติม ขวดแก้ว เศษไม้ หรือโฟม มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน Eco-Concrete ในรูปทรงต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ผลงานล่าสุดของคุณประพันธ์ และกลุ่ม E2C Samui คือโครงการสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารให้โรงเรียนบ้านแหลมหอย อำเภอเกาะสมุย ซึ่งในปัจจุบันผลงาน Eco-concrete ของคุณประพันธ์ถือเป็นที่สนใจอย่างมากในตอนนี้

กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ ECO-BLOCK โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายเพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ปีที่ 2

        กิจกรรมการอบรมฯ ดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมอบรมในรูปแบบ online จากภาคส่วนต่างๆ ทั้งบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ตัวแทนจากเทศบาลตำบลพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และตัวแทน อสม. จาก รพ.สต. พุมเรียง, ตัวแทนจากเทศบาลตำบลเกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช, นักศึกษาและอาจารย์จากวิทยาลัยภาวนาโพธิคุณ อ.สมุย จ.สุราษฎร์ธานี และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ทำให้กิจกรรมดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

        ขอขอบคุณคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว น้องๆ นักวิชาการจากสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป ทีมงาน U2T เกาะทวด และน้องๆ ผู้ช่วยทุกคน ที่ทำให้การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการรูปแบบ online ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป / โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายเพื่อนำไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว ปีที่ 2
โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 075676268
ช่องทางสื่อสารทางสังคม https://green.wu.ac.th, https://www.facebook.com/solgen.walailak