นโยบายของสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป

  • พัฒนาการจัดการหมวดการศึกษาทั่วไปให้มีความสอดคล้องกับนโยบายการเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัย ความต้องการของประเทศและการเข้าสู่ระดับสากล
  • พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF เสริมสร้างนักศึกษาให้มีทักษะการคิด วิเคราะห์ และ สังเคราะห์
  • พัฒนาบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น ระบบห้องเรียนเล็กอัจฉริยะ (Small Smart Classroom) การเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) และ การประเมินผลแบบย่อย (Formative Assessment) เพื่อใช้ในการติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
  • ดูแลนักศึกษาทุกคนจากทุกหลักสูตรเสมือนเป็นนักศึกษาของสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป
  • พัฒนาระบบการดูแลนักศึกษาเพื่อลดการตกออกจากการเรียนของนักศึกษา
  • ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นความร่วมมือระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ภายในสำนักวิชา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน
  • พัฒนาสิ่งสนับสนุนและบรรยากาศของการทำวิจัยแก่คณาจารย์ สาขาวิชา และ สำนักวิชา
  • เสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการวิจัยร่วมในเชิงสหศาสตร์กับนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  • ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการแก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยที่มุ่งให้สังคมมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านการศึกษา วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการกับพันธกิจด้านการเรียนการสอน หรือการวิจัย
  • ส่งเสริมโครงการบริการวิชาการทั้งในรูปแบบให้เปล่าและเชิงพาณิชย์
  • ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณาจารย์กับภาคอุตสาหกรรม ชุมชุน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
  • บูรณาการงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับพันธกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย หรือการบริการวิชาการแก่สังคม
  • ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและนานาชาติแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และ บุคคลภายนอก
  • ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม
  • ใช้หลักความเป็นธรรมและเสมอภาค ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเป็นธรรม ในเรื่องการจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่ง การประเมิน การจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน รวมตลอดถึงการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมในทุกระดับ
  • ใช้หลักความซื่อสัตย์สุจริต ให้ความสำคัญและยึดมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานทุกระดับชั้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและของประเทศชาติเป็นสำคัญ
  • ใช้หลักความเคารพความเป็นปัจเจกบุคคลของพนักงาน ให้ความสำคัญและยอมรับความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ  และแนวทางการดำรงชีวิตของพนักงาน 
  • ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตรวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น เช่น การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
  • ส่งเสริมการพัฒนาพนักงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการทำงานในอนาคต
  • พัฒนาผู้ที่มีศักยภาพเพื่อทำหน้าที่ผู้นำในอนาคตเพื่อรองรับความต่อเนื่องทางการบริหาร
  • พัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีความปลอดภัย  สะดวกสบาย  และเป็นสถานที่ที่น่าภาคภูมิใจสำหรับการทำงาน
  • ใช้กระบวนการสรรหาที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
  • การคัดเลือกพนักงาน คำนึงถึงการมีค่านิยมร่วม ความสามารถหลัก (Core Competency) และความสามารถเฉพาะทาง  (Functional Competency) 
  • ให้โอกาสผู้ที่มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของสำนักงานอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติและศาสนา
  • ใช้กระบวนการประเมินที่ยุติธรรมสอดคล้องกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร
  • ใช้ระบบการประเมินผลงานโดยเน้นความเป็นวัตถุวิสัยและการทำงานเป็นทีม (Objective and Teamwork Assessment)
  • ใช้การประเมินผลงานเป็นกระจกสะท้อนผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการปฏิบัติงานในอนาคตและเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาส่วนบุคคลของพนักงาน
  • เป็นองค์กรที่มีความกระฉับกระเฉงปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว (Lean Organization) 
  • มีระดับชั้นของการเสนอ กลั่นกรองงาน และอนุมัติมีไม่เกิน 3 ระดับ
  • ให้พนักงานระดับผู้บริหารมีความรับผิดชอบทั้งในงานด้านการบริหารงานและการบริหารบุคคล และมีอำนาจตัดสินใจในขอบเขตงานรับผิดชอบของตน

ผู้มีอำนาจอนุมัติ : คณบดี

ผู้กลั่นกรอง : ผู้บริหาร คือ รองคณบดี, หัวหน้าสาขาวิชา และ หัวหน้าสถานวิจัย

ผู้เสนอเรื่อง : บุคลากร

  • มุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์และนโยบาย รวมทั้งชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร
  • จัดการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารความเสี่ยง
  • ส่งเสริมให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรได้รับรู้และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด
  • ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง
  • ส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่นําไปสู่การสร้างสรรค์ มูลค่าให้แก่องค์กร
  • พัฒนาระบบและกลไกในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์และนโยบายคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  • ส่งเสริมให้นําระบบประกันคุณภาพการศึกษาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์กรและนําผลการประเมินคุณภาพจากภายในและภายนอกมาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการจัดทํารายงานประกัน คุณภาพการศึกษา สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผน พัฒนาคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและ ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ทุกระดับ
  • พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • บริหารจัดการองค์การด้วยหลักธรรมาภิบาล
  • จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงขององค์กร และกำกับติดตามการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริม สนับสนุน การใช้ทรัพยากร รวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน  การป้องกันหรือลดความผิดพลาด  ความเสี่ยหาย  การรั่วไหล  การสิ้นเปลือง หรือการทุจริต ภายในองค์กร
  • บุคลากรทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย  และแนวปฏิบัติงานที่องค์กรได้กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด
  • เป็นการบริหารที่มุ่งถึงอนาคตขององค์กร (Future-oriented Management) โดยมุ่งเน้นการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรทั้งระบบ (Organizational Change) ซึ่งครอบคลุมโครงสร้าง เทคโนโลยี บุคลากรและทรัพยากรต่างๆ
  • เป็นการบริหารองค์การแบบองค์รวม (Holistic Approach)  บุคลากรทุกคนมุ่งสู่ทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน
  • เป็นการบริหารองค์การที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการดำเนินการ (Result-based Focus)  มีการระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจน ตลอดจนเป้าหมายและวัตถุประสงค์
  • เป็นการบริหารจัดการองค์การที่มุ่งเน้นการวางแผนระยะยาว (Long-term Planning) เพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน
  • ยึดมั่นในการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ตรวจสอบภายใน และควบคุมภายใน เพื่อป้องกันการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งจากบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสียอื่น
  • ดำเนินการให้องค์กรมีระบบทางบัญชีและการรายงานทางการเงินที่มีประสิทธิผลและเชื่อถือได้
  • สนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องและชอบธรรม
  • พัฒนาโครงการบริการวิชาการเชิงพาณิชย์เพื่อจัดสรรเงินรายได้ในการพัฒนาองค์กรและบุคลากร
  • ให้ความสำคัญและตระหนักถึงความปลอดภัยของบุคลากรเป็นอันดับแรก
  • พัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัย สุขภาพและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเสี่ยงขององค์กรและปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและ สภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม